บทความเกี่ยวกับ IT


ผู้ประกอบธุรกิจที่จะพัฒนาธุรกิจของตนเองให้เข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ โดยเข้ารับการอบรม   FranchiseB2B รุ่นปัจจุบันที่กำลังฝึกอบรมในปีนี้ คือรุ่นที่ 14 ขณะนี้ได้รับสมัครและเริ่มฝึกอบรมกันไปแล้วเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2555 นี้นะคะ  ท่านที่สนใจสมัครต้องรอปีหน้าแล้วละค่ะ แต่มีหลักสูตรสำหรับผู้บริหารธุรกิจแฟรนไชส์ ยังสามารถสมัครเพิ่มเติมได้ค่ะ ดูใบสมัครในเว็บเราแล้ว fax มาที่ 025475952 นะคะ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-5475953   xxxxx

ค้นข้อมูลเฟรนไซส์ซอร์
ค้นจากทั้งหมด
ตามชื่อธุรกิจ ตามชื่อ-สกุล
ตามหมวดธุรกิจ
ตามวงเงิน
ป้อนชื่อ-สกุล

ป้อนอิเมล์

รหัสอ้างอิง


ตาม IP : 220 ท่าน

วันนี้ : 176 ครั้ง
เดือนนี้ : 9,345 ครั้ง
ทั้งหมด : 3,999,859 ครั้ง

ผู้เยี่ยมชมขณะนี้ 1 ท่าน
  • 44.222.149.13


  •    แฟรนไชส์ไทย ทำไมไม่โต

    สำหรับระบบแฟรนไชส์ของคนไทยในยุคที่ผ่านมา ยังดูเหมือนการเติบโตเป็นไปได้ช้า มีหลายธุรกิจที่พยายามผลักดันการขยายงานโดยใช้รูปแบบแฟรนไชส์ แต่ส่วนใหญ่มีปัญหาที่มักพบกับผู้ลงทุนที่ยังขาดความเข้าใจในวิธีการสร้างระบบงาน ยังนำวิธีการบริหารแบบระบบครอบครัวมาใช้ในระบบแฟรนไชส์อย่างผิดทาง ทำให้อัตราความล้มเหลวมีมาก

    สังเกตได้ว่า แฟรนไชส์ในประเทศไทยเติบโตคล้ายรูปแบบในสหรัฐอเมริกา ย้อนไปศึกษาถึงการเติบโตของระบบแฟรนไชส์ในอเมริกา จะเห็นได้ถึงการพัฒนาระบบธุรกิจแฟรนไชส์ มี 3 ช่วง คือ

    ระยะเริ่มต้น ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่เกิดจากธุรกิจขนาดเล็กที่หันมาสร้างระบบแฟรนไชส์โดยมุ่งเน้นที่ตัวสินค้าและการให้บริการเป็นหลัก แต่ระบบการบริหารยังไม่เข้มแข็งพอ ทำให้มีธุรกิจน้อยรายที่สามารถรักษาสถานภาพให้คงอยู่ได้ ในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ธุรกิจแฟรนไชส์เกิดจากธุรกิจขนาดเล็กและได้ล้มหายไปในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2528 และเป็นที่รู้จักในช่วงปี 2535 แต่หลังจากนั้นธุรกิจแฟรนไชส์ของคนไทยก็ล้มหายไปแทบไม่มีหลงเหลืออยู่เลย แต่ยังคงมีธุรกิจแฟรนไชส์ที่เป็นของต่างประเทศที่พัฒนาแล้วเข้ายึดตลาดของไทยมากกว่า 80 %

    ระยะฟื้นตัว เป็นช่วงของการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์จากบริษัทขนาดกลาง จุดประสงค์เพื่อสร้างร้านจำหน่ายสินค้าของตน เสมือนการเพิ่มช่องทางจัดจำหน่ายโดยกระจายการลงทุนด้วยระบบแฟรนไชส์ และด้วยศักยภาพที่เหนือกว่า สามารถนำเอาความพร้อมขององค์กรมาช่วยสร้างระบบงานและสร้างตราสินค้าได้ดีขึ้น ทำให้ระบบเริ่มมีแนวทางและมาตรฐาน ในระยะนี้ยังมีธุรกิจขนาดเล็กที่สร้างความพร้อมของตนเองให้ดีขึ้น เป็นช่วงที่ประเทศไทยเริ่มปรับตัว พร้อมกับมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนสร้างความเข้าใจในลักษณะและรูปแบบของธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้น ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีต่อการพัฒนาระบบธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศต่อมา

    ระยะพัฒนา ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ประเทศที่มีรายได้สูงและมีความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบธุรกิจ เช่น อเมริกา ได้ปรับระบบธุรกิจแฟรนไชส์เข้าสู่ช่วงนี้แล้ว คือการที่ธุรกิจที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ใช้ระบบแฟรนไชส์เป็นกลยุทธ์ในการขยายตลาด เป็นระยะที่ธุรกิจแฟรนไชส์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำด้านระบบแฟรนไชส์ โดยมีสัดส่วนของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ถึง 61% ของระบบแฟรนไชส์ของโลก และมีร้านค้าที่เป็นแฟรนไชส์ซีของธุรกิจจากอเมริกาประมาณ 76% ของระบบแฟรนไชส์ของโลก 

    เราอาจคาดการณ์ได้ว่าระบบแฟรนไชส์ของคนไทยจะสามารถเข้าสู่ระยะพัฒนาเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีขนาดใหญ่ คงต้องใช้เวลากว่า 3 ปี และหากจะมีระบบธุรกิจที่เป็นอย่างอเมริกาได้นั้นต้องใช้เวลากว่า 10 ปี  ปัจจุบันบริษัทที่ประกาศว่าเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่เป็นของคนไทยมีถึง 361 บริษัท เป็นแฟรนไชส์จากต่างประเทศประมาณ 50 บริษัท มีสาขาที่เป็นร้านในระบบแฟรนไชส์โดยรวมประมาณ 25,000 ร้านค้า ทั้งนี้เป็นร้านแฟรนไชส์ต่างประเทศกว่า 16%  อย่างไรก็ตามการที่มีหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะส่วนของรัฐ เชื่อว่าในไม่กี่ปีจากนี้ถือเป็นการปรับตัวแบบก้าวกระโดดของธุรกิจด้านแฟรนไชส์ของคนไทยที่จะช่วยให้มีการขยายประเภทธุรกิจเพิ่มสาขามากขึ้น ความรู้ความเข้าใจของประชาชนทั่วไปต่อระบบธุรกิจดีมากขึ้น แฟรนไชส์ของคนไทยยังเป็นธุรกิจที่ได้รับการตอบรับอย่างรวดเร็วมากขึ้น  ต้องยอมรับว่า การส่งเสริมของหน่วยงานต่างๆ คือ องค์ประกอบสำคัญที่ช่วยสร้างการยอมรับและสร้างความเข้าใจในวงกว้างได้เร็ว



    13 กรกฎาคม 2549  |   จำนวนผู้เปิดอ่าน 15306 ครั้ง


    อ่านทั้งหมด


  • ร่วมแสดงความคิดเห็น
    ชื่อ-สกุล : E-mail :
    รายละเอียด :
    รหัสอ้างอิง :
  • ผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น
    ลำดับ รายละเอียด
  • หน้าหลัก | FRANCHISE B2B | โครงการอบรม | ข่าวสาร/กิจกรรม | แฟรนไซส์ซอร์ | สมัครสมาชิก | ติดต่อเรา แฟรนไซส์ บีทูบี   
    กรมพัฒนาธุรกิจการค้า 44/100 นนทบุรี 1 ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000   
    โทร. 02-5475952-3   สายด่วน 1570   
    E-mail : info@franchiseb2b.net | Check Mail |