บทความเกี่ยวกับ IT


ผู้ประกอบธุรกิจที่จะพัฒนาธุรกิจของตนเองให้เข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ โดยเข้ารับการอบรม   FranchiseB2B รุ่นปัจจุบันที่กำลังฝึกอบรมในปีนี้ คือรุ่นที่ 14 ขณะนี้ได้รับสมัครและเริ่มฝึกอบรมกันไปแล้วเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2555 นี้นะคะ  ท่านที่สนใจสมัครต้องรอปีหน้าแล้วละค่ะ แต่มีหลักสูตรสำหรับผู้บริหารธุรกิจแฟรนไชส์ ยังสามารถสมัครเพิ่มเติมได้ค่ะ ดูใบสมัครในเว็บเราแล้ว fax มาที่ 025475952 นะคะ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-5475953   xxxxx

ค้นข้อมูลเฟรนไซส์ซอร์
ค้นจากทั้งหมด
ตามชื่อธุรกิจ ตามชื่อ-สกุล
ตามหมวดธุรกิจ
ตามวงเงิน
ป้อนชื่อ-สกุล

ป้อนอิเมล์

รหัสอ้างอิง


ตาม IP : 201 ท่าน

วันนี้ : 64 ครั้ง
เดือนนี้ : 9,121 ครั้ง
ทั้งหมด : 3,999,635 ครั้ง

ผู้เยี่ยมชมขณะนี้ 2 ท่าน
  • 114.119.134.196
  • 107.23.85.179


  •    ความสัมพันธ์สร้างความสำเร็จให้องค์กรแฟรนไชส์

    ความสัมพันธ์ที่ดีของระบบแฟรนไชส์เกิดจากการให้และการรับ
                 ภาพของแฟรนไชส์ที่เห็นก่อนการลงทุนเข้าเป็นสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร การนำเสนอ การโฆษณา ระบบการทำงาน รวมถึงการติดต่อ ความสัมพันธ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการพิจารณาร่วมลงทุนนั้น จะแตกต่างจากความรู้สึก หลังเข้ามาร่วมลงทุน ความสัมพันธ์ระหว่างกันดังกล่าวจะมีการพัฒนา ซึ่งแนวโน้มจะออกมาในทางดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างบริษัทแม่และสมาชิกแฟรนไชส์ซี ความรู้สึกของแฟรนไชส์ซีเมื่อเริ่มเข้าสู่ระบบการทำงานที่แท้จริง ในระยะแรกจะเกิดความคาดหวังจากที่แฟรนไชส์ซอร์สร้างภาพลักษณ์ที่ดีเอาไว้ในตอนแรก เมื่อผ่านช่วงระยะเริ่มต้นแล้ว จะเกิดความตึงเครียดเนื่องจากเรื่องบางเรื่องไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้ รวมถึงเรื่องบางอย่างต้องอาศัยระยะเวลา ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจะต้องปรับความเข้าใจและพูดคุยกัน โดยทั่วไปแล้วแฟรนไชส์ซอร์มักจะเน้นยอดขายเพื่อสร้างส่วนตอบแทนตามระบบของธุรกิจแฟรนไชส์ ในขณะที่แฟรนไชส์ซีจะมองว่ากำไรสุทธิที่จะเกิดขึ้นกับตนนั้นเป็นอย่างไร จะคงเหลือรายได้จากการหักค่าแฟรนไชส์แล้ว คุ้มหรือไม่กับแรงงานที่ทุ่มเท รวมถึงเม็ดเงินที่ลงทุนไป จะเห็นว่าเป็นเรื่องที่มองจากคนละมุมซึ่งทำให้เกิดข้อขัดแย้งกันได้ง่าย

                 ในระยะแรก เมื่อแฟรนไชส์ซีเริ่มทำงานจะมีปัญหาเรื่องการจัดการวางระบบธุรกิจ แต่เมื่อธุรกิจเข้าที่ ยอดขายมีกำไรเป็นไปได้ตามที่คาดหวัง ปัญหาเรื่องการจัดการจะคลี่คลายลง และจะเกิดสภาพขาดความเข้าใจรูปแบบอื่นในระยะต่อมา เช่น แฟรนไชส์ซีเริ่มมองว่าในขั้นตอนต่อไปหลังจากธุรกิจเริ่มลงตัวแล้ว แฟรนไชส์ซอร์จะต้องให้การสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่แฟรนไชส์ซอร์อาจมองว่าเมื่อผ่านการสนับสนุนมาจนดำเนินการเองได้แล้ว ควรเป็นช่วงเวลาที่จะต้องให้แฟรนไชส์ซีดำเนินธุรกิจด้วยตัวเอง และสำนักงานใหญ่จะกลายเป็นผู้ช่วยเหลืออยู่ห่างๆ การมองคนละมุมดังนี้จะก่อให้เกิดความไม่เข้าใจระหว่างกันขึ้น ซึ่งแฟรนไชส์ซอร์จะต้องทำความเข้าใจว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมชาติที่ต้องเกิดขึ้นในระบบ และเตรียมแผนจัดการรับมือไว้ล่วงหน้า อาจใช้แนวทางแก้ไขดังนี้คือ

              ข้อหนึ่ง ต้องมั่นใจตั้งแต่แรกว่าแฟรนไชส์ซีที่จะเข้ามาดำเนินธุรกิจร่วมกันนั้น สามารถพูดคุยเข้าใจกันได้ดี และมีความสามารถเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ มากกว่ารอการสนับสนุนจากสำนักงานใหญ่เพียงอย่างเดียว

              ข้อสอง มีรูปแบบการสื่อสารที่ดีระหว่างแฟรนไชส์ซีและสำนักงานใหญ่ เปิดโอกาสให้มีการนำเสนอวิธีการพัฒนาธุรกิจในแง่มุมต่างๆ มีทีมงานที่พร้อมเข้ามาร่วมช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรค เหล่านี้จะช่วยลดข้อขัดแย้งและความไม่เข้าใจกันซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับทุกรูปแบบของความสัมพันธ์อยู่แล้ว ฉะนั้น การจัดการความสัมพันธ์ที่ดี จะเป็นเครื่องมือที่ทำให้ธุรกิจเกิดการร่วมมือร่วมใจสร้างองค์กรแฟรนไชส์ให้เติบโตอย่างต่อเนื่องได้

               ระบบแฟรนไชส์เป็นระบบของการพึ่งพาระหว่างกัน แฟรนไชส์ซีต้องใช้รูปแบบ/วิธีการบริหารงานของแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซอร์จะประสบความสำเร็จได้ต้องขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของแฟรนไชส์ซี ต่างคนต่างต้องพึ่งพากันและกัน หากความสัมพันธ์ที่เป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจเกิดปัญหาขึ้น ระบบธุรกิจจะล้มได้โดยง่าย จึงเห็นได้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ใดที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีได้นั้น จะเป็นธุรกิจที่ยืนยาวอยู่ได้ ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างบริษัทแม่กับเครือข่ายมีลักษณะเหมือนกับการมีเพื่อนที่ปรึกษาทางธุรกิจที่ต้องมีโอกาสพูดคุย โทรหากันเมื่อยามต้องการความช่วยเหลือ ไม่สบายใจ หรือในบางครั้งเกิดความท้อถอยในการทำธุรกิจ ดังนั้น ความสัมพันธ์ที่ดีจะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อกันอย่างเปิดเผย และความร่วมมือ ความสัมพันธ์เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มผู้ลงทุน เพราะความสัมพันธ์ที่ดีจะก่อให้เกิดการพัฒนาธุรกิจต่อเนื่องไปด้วย

    13 กรกฎาคม 2549  |   จำนวนผู้เปิดอ่าน 9294 ครั้ง


    อ่านทั้งหมด


  • ร่วมแสดงความคิดเห็น
    ชื่อ-สกุล : E-mail :
    รายละเอียด :
    รหัสอ้างอิง :
  • ผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น
    ลำดับ รายละเอียด
  • หน้าหลัก | FRANCHISE B2B | โครงการอบรม | ข่าวสาร/กิจกรรม | แฟรนไซส์ซอร์ | สมัครสมาชิก | ติดต่อเรา แฟรนไซส์ บีทูบี   
    กรมพัฒนาธุรกิจการค้า 44/100 นนทบุรี 1 ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000   
    โทร. 02-5475952-3   สายด่วน 1570   
    E-mail : info@franchiseb2b.net | Check Mail |